กว่าจะได้มาซึ่งก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซชีวภาพเป็นหนึ่งในก๊าซที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญในการสร้างพลังงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาเผาไหม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง สร้างพลังงานความร้อน หรือจะนำมาขับเคลื่อนรถยนต์จากปฏิกิริยาการสันดาปภายในเครื่องยนต์ที่เกิดความดันขึ้นและสามารถขับเคลื่อนยานพาหนะต่าง ๆ ให้สามารถเคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้ นับได้เลยว่าก๊าซธรรมชาตินั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก และเป็นแหล่งพลังงานที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบันแบบสุด ๆ แต่กว่าจะได้มาซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะจะต้องมีกระบวนการต่าง ๆ ที่คัดแยกและบรรจุก๊าซธรรมชาติเหล่านี้ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาศึกษาและทำความเข้าใจกับเจ้าก๊าซที่แสนจะวิเศษกันค่ะ  

ก๊าซชีวภาพคืออะไร 

ก๊าซชีวภาพจัดเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิต เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์แล้วมีจุลินทรีย์ในการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ภายใต้สภาวะที่ปราศจากแก๊สออกซิเจน ซึ่งผลพลอยได้ก็จะให้ก๊าซจำพวก แก๊สมีเทน แก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์ แก๊สไฮโดรเจน แก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยอย่างที่ทราบกันดีว่าก๊าซมีเทนนั้นเกิดได้ในปริมาณที่มากที่สุดเนื่องจากตัวเองนั้นรูปแบบโครงสร้างของโมเลกุลมีความเสถียร อีกทั้งคุณสมบัติของก๊าซมีเทนนี้ยังสามารถติดไฟได้เป็นอย่างดี จึงมักถูกนำมาใช้ในการเป็นเชื้อเพลิงในการสร้างพลังงานความร้อนและแสงสว่างขึ้น เช่นการเผาไหม้ต่าง ๆ เป็นต้น 

ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ 

การผลิตก๊าซชีวภาพนั้นสามารถทำได้โดยใช้มูลสัตว์และซากพืชในการหมักเพื่อให้จุลินทรีย์ต่าง ๆ นั้นสามารถเกิดการย่อยสลายและปลดปล่อยแก๊สออกมา ตัวแก๊สเหล่านี้ก็จะถูกผ่านกระบวนการต่าง ๆ และลอยตัวขึ้นมาผ่านไปยังท่อ สำหรับในบางที่นั้นก็นิยมสร้างแล้วนำไปใช้ประโยชน์เลย ดังต่อไปนี้ 

  1. เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ 

แก๊สมีเทนที่ถูกย่อยสลายนั้นจะมีน้ำหนักที่เบาและลอยขึ้นสู่ด้านบน ภายในด้านบนของภังหมักนั้นก็จะมีท่อที่เชื่อมและส่งผ่านไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งาน เช่น เตาภายในบ้าน ซึ่งเมื่อถึงเวลาใช้งานก๊าซเหล่านี้ที่ลอยตัวและถูกกักเก็บนั้นก็จะมากพอที่จะสามารถเกิดการเผาไหม้และให้แสงสว่างในยามค่ำคืนได้เป็นระยะเวลายาวนาน 

  1. ลดมลพิษและรักษาสภาพแวดล้อม 

การลดมลพิษทางอากาศจากการที่แก๊สมีเทนระเหยนั้นนับได้ว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเทนนั้นเป้นตัวการสำคัญที่สร้างมลพิษให้กับทางอากาศได้เป็นอย่างดี การนำไปใช้งานเลยในทันทีจึงเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางอากาศได้อย่างดีเยี่ยม 

  1. กากใยที่เหลือสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ย 

แน่นอนว่ากากใยที่เหลือจากการหมักนั้นสามารถนำไปสร้างและขายเป็นปุ๋ยได้ สามารถสร้างพืชผลให้เจริญเติบโตงอกงามและสามารถนำไปสร้างกำไรได้อีกทางหนึ่ง นับได้ว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก